คิดก่อนที่จะนำสุนัขมาเลี้ยงดู
สุนัขที่จะนำมาเลี้ยง ควรจะเลือกสุนัขที่หย่านมแล้ว อายุประมาณ 6 สัปดาห์ เพราะสุนัขจะโตพอที่จะปรับตัวเข้า กับอาหาร
การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความต้องการ ต่างๆ ที่จะประสานกันกับความสัมพันธ์ของเรากับลูกสุนัข ถ้าคุณมีสมาชิกที่เป็น
เด็กเล็กในบ้าน ก็จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ลูกสุนัขคุ้นกับคนในสมาชิกและเด็กเล็ก เพราะว่าเด็กกับสุนัขจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
ไป อีกยาวนาน ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรจะนำสุนัขมาเลี้ยง จนกว่าเราจะมีความพร้อมต่างๆ ที่สมบูรณ์ก่อน เพราะสุนัขบางตัวจะอิจฉา
เด็ก หรือเข้ากันไม่ได้
ข้อเสีย ในการที่จะนำเอาลูกสุนัขที่อายุน้อยมาเลี้ยงก็คือ:
ในการฝึกขับถ่ายให้เป็นที่ ซึ่งมักจะต้องใช้เวลานานในการฝึกเขา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการ กัดแทะสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ใน
ช่วงอายุ 2-3 เดือนแรกเพราะลูกสุนัขจะมีการเปลี่ยนฟันชุดแรก
วิธีที่จะแก้ปัญหาน่ารำคาญเหล่านี้ ก็คือ เลือกซื้อสุนัขที่โตพอสมควร แต่ว่าก็อาจจะมีปัญหา อย่างอื่นเกิดขึ้นได้ เพราะสุนัขอาจมี
พฤติกรรม แปลก ๆ ที่เข้ากับเจ้าของใหม่ไม่ได้ เราต้องคอย ให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่กับมัน ซึ่งไม่ว่า จะเป็นลูกสุนัขหรือสุนัขโต
ในท้ายที่สุดคุณก็จะสามารถ พิชิตใจของเจ้าสุนัขเหล่านี้ได้แน่นอน
การดูเพศ ควรดูความต้องการว่าเราพร้อมจะเลี้ยงสุนัขเพศไหน ถ้าจะใช้เป็นแม่พันธุ์ก็เลี้ยงสุนัขเพศเมีย โดยหาตัวผู้ จาก
ครอกอื่นไม่ควรเอาครอกเดียวกัน หรือมีความ สัมพันธ์เป็นพี่น้องหรือญาติกัน แต่ถ้าไม่อยากให้มี ปัญหาการผสมข้ามพันธุ์ก็ควรเลี้ยง
เพศเมียอย่างเดียว แล้วค่อยหาพ่อพันธุ์ทีหลังก็ได้ หรือในบางคนอยาก เลี้ยงสุนัขแต่ไม่อยากได้ลูก ก็ควรเลี้ยงสุนัขเพศผู้ แต่จะมี
ปัญหาในช่วงสุนัขติดสัด อาจจะออกจาก บ้านไปกัดกันแย่งตัวเมียกับตัวอื่น ทำให้เกิดบาด เจ็บได้ อาจแก้ปัญหาโดยการทำหมันเสีย
สายพันธุ์ สุนัขมีหลายขนาด รูปร่าง และสี ซึ่งลักษณะที่แตกต่างกัน เหล่านี้ เราจะจัดแบ่งเป็นพันธุ์ต่างๆ โดยที่มีการพัฒนา
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลายชั่วอายุ เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ อาทิเช่น สำหรับการกีฬา สุนัขใช้งาน สุนัขเฝ้ายาม สุนัขเลี้ยง แกะ ซึ่ง
ในแต่ละพันธุ์ก็จะมีการแบ่งแยกไปตามลักษณะต่าง ๆ ดังนั้นถ้าเราจะนำสุนัขมาเลี้ยง ควรคิดให้ดีว่าเราอยากได้สุนัข พันธุ์อะไร จุด
ประสงค์ในการเลี้ยงเป็นอย่างไร เอามาเฝ้าบ้าน เลี้ยงไว้ดูเล่น ไว้เป็นแม่พันธุ์ หรือไว้เป็นเพื่อน อย่าเลี้ยงเพราะ เห่อตามเพื่อน เพราะ
คุณจะไม่มีความอดทนเอาใจใส่ในการ เลี้ยงพอ เมื่อเบื่อแล้วก็ทิ้งขว้างหรือไม่สนใจ ถ้าเช่นนั้นอย่าเลี้ยงดีกว่า
ขนาด ดูความต้องการและความเป็นไปได้ของสถานที่ที่จะเลี้ยง ควรจะสัมพันธ์กัน เช่น ถ้ามีบริเวณบ้าน กว้างก็เลือกเลี้ยงได้
ทั้งสุนัขที่มีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แต่ถ้าบ้านแคบก็ควรเลี้ยง แต่สุนัขขนาดเล็ก หรือกลาง เพราะสุนัขขนาดเล็กนั้นกินน้อย ถ่ายก็
น้อย ทำความสะอาดง่ายกว่าและพื้นที่ไม่มากก็พอเพียง กับการออก กำลังกาย แต่มักจะก่อให้เกิดปัญหาการถ่ายในบ้านได้ ถ้าเจ้า
ของไม่ฝึกให้ขับถ่ายเป็นที่
ลักษณะนิสัย ในสุนัขบางพันธุ์ถูกพัฒนาให้มีความดุ เพื่อการล่าหรือใช้เฝ้ายาม จึงจำเป็นที่เราจะต้อง เข้าใจนิสัยของสุนัขที่จะ
นำมาเลี้ยงเสียก่อน สุนัขส่วนใหญ่ไม่กัดเจ้าของ แต่ก็เป็นความรับผิดชอบของ เจ้าของ เช่นกันที่จะต้องไม่ให้สุนัขไปกัดแขกที่มา
เยี่ยมเยือน หรือคนที่เดิน ผ่านหน้าบ้าน
ขน ปัญหาของสุนัขขนยาวคือ เมื่อมีเห็บหมัดจะสังเกตได้ยาก เห็บ หมัด อาจนำมาซึ่งโรคพยาธิเม็ดเลือด ได้และก่อให้เกิด
ปัญหา โรคผิวหนัง ซึ่งมักเกิดจากการแพ้น้ำลายหมัด เมื่อเกิดปัญหาขึ้น เจ้าของบางราย จะจับสุนัขกร้อนขนทิ้งเสีย ทำให้สุนัขดูไม่
สวย เสียลักษณะ นอกจากนี้สุนัขขนยาวยังต้องให้ความเอาใจใส่ดูแล ตัดแต่งขน การทำความสะอาดจะยุ่งยากกว่าสุนัขขนสั้น รอบ
ก้น ควรจะตัดขนออก เพื่อมิให้เกิดปัญหาการถ่ายไม่ออก เนื่องจากมี เศษอุจจาระติดขนอุดตันรูทวาร หนักอยู่ ส่วนขนหูก็มักจะยาว
ต้องคอยถอนออก เพื่อมิให้เกิดหูน้ำหนวก หรือไรในหูได้
สี โดยมากสุนัขที่มีขนสีอ่อนมักจะมีสุขภาพผิวหนังอ่อนแอกว่า สุนัขขนสีเข้ม โดยเฉพาะในหน้าร้อน มักจะเป็นโรค Hot Spot หรือผิวหนังอักเสบ
วิธีการเลือก เมื่อคิดได้แล้วว่าต้องการสุนัขแบบไหน ขั้นตอนต่อไปคือ หาสุนัขที่ถูกต้องตามลักษณะที่ต้องการ และสุขภาพดี
1. ตรวจประวัติของตัวแม่ว่า ได้รับวัคซีน การถ่ายพยาธิ และอาหารดีหรือไม่ แม่พันธุ์บางตัวจะได้รับการฉีด วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
และถ่ายพยาธิก่อนผสม เพื่อให้ภูมิคุ้มกันถ่ายทอด ไปที่ลูกมากขึ้น และมีการ เสริมแคลเซียมและวิตามิน ในช่วงขณะตั้งท้อง
2. ตรวจดูว่าตัวแม่ให้ลูกกี่ตัว เพื่อที่จะคาดเดาได้ว่า ต่อไปสุนัขจะมีลูกครอกละกี่ตัว แม่สุนัขที่ดีควรจะ มีลูกเพียง ปีละครอก เพราะ
ถ้ามีลูกถี่เกินไป อาจทำ ให้ได้ลูกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ และสุขภาพของแม่จะโทรมเร็ว
3. ดูประวัติการได้รับวัคซีน การถ่ายพยาธิ และอาหารของตัวลูกก่อนที่จะซื้อมา เลือกตัวที่ดูแข็งแรงที่สุด ขนเป็นมัน ตาสดใส มีร่อง
รอยของการท้องเสีย หรือไม่ มีน้ำมูก หรือขี้ตา และถ้าจะ เลี้ยงเพื่อประกวด ควรเลือกตัวที่ดูเชื่อง ว่าง่าย มีลักษณะที่ถูกต้องตามพันธุ์
อย่าเลือกตัวที่ชอบนอน เลือกตัวที่มี เนื้อแน่น น้ำหนักดี
4. ตรวจดูความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เพดานโหว่ ฟันยื่น หรือไม่สบกัน ฟันเก ซึ่งมักพบในพันธุ์ที่มีจมูกสั้น เช่น Boxer Maltese
Peking มีปัญหาไส้เลื่อนหรือไม่ ก็ นิ้วเท้าขา หลังไม่ควรมีนิ้วติ่ง เหงือกเป็นสีชมพู ไม่ซีด เปิดหูดมว่ามีกลิ่นหรือไม่ บางตัวจะมีไรใน
หูที่ติดมาจากแม่ ไรในหูทำให้เกิดกลิ่นเหม็น คัน หูอักเสบ ควรจะให้สัตวแพทย์ตรวจรักษา
5. ในวันแรก ๆ ที่ซื้อมา ควรจัดให้ สุนัขนอนในที่อยู่ที่มีการเตรียมไว้ เอาผ้าหรือวัสดุที่มันคุ้นเคย เพื่อ ให้ลูกสุนัขคุ้นเคยกับการ
เปลี่ยน สถานที่ และไม่เกิดความเครียดตามมา.